ในยุคที่การตลาดบนสังคมออนไลน์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ทุกแบรนด์ต้องทำคอนเทนต์รูปบนโซเชียลมีเดียในแต่ละแพลตฟอร์ม แต่ Facebook Twitter Instagram โซเชียลมีเดียทุกแพลตฟอร์มอื่นๆก็มีขนาดรูปที่แนะนำไม่เหมือนกัน ยิ่งไปกว่านั้นทุกแพลตฟอร์มก็มีขนาดรูปที่แนะนำมากกว่าหนึ่งขนาด ทั้งรูปโปรไฟล์ รูปโคฟเวอร์ รูปคอนเทนต์ รูปลิงค์ ขนาดต่างกันทั้งหมด แบบนี้สับสนแน่นอน แต่วันนี้เรามีโพยโกงขนาดรูปมาแจก
ขนาดกราฟฟิกสำหรับทำภาพ Social Media
รูปโปรไฟล์ | รูปโคฟเวอร์ | รูปคอนเทนต์ | รูปลิงค์ที่แชร์ | |
400 x 400 | 1500 x 500 | 600 x 335 | 800 x 418 (อัตราส่วน 1.9: 1) | |
170 x 170 บนPC
128 x 128 บนมือถือ |
820 x 312 | 1200 x 630 | 1200 x 630(อัตราส่วน 1.9: 1) | |
110 x 110 (min.) | ไม่มี | 1080 x 1080 (รูปใหญ่ที่คลิกจาก photo thumbnail) 510 x 510 (รูปที่แสดงใน feed) 1080 x 1920 (Instagram Story) |
110 x 110 (photo thumbnails) | |
165 x 165 | 222 x 150 | 236 x XX (ความสูงไม่จำกัด) | 735 x 1102 (pin preview) 600 x 600 (board display) |
|
400 x 400 (ของบุคคล) 300 x 300 (ของบริษัท) 60 x 60 (ของบริษัทขนาดเล็ก) |
1584 x 396 (ของตัวบุคคล) 1536 x 768 (ของบริษัท) 646 x 220 (Banner Image) 1128 x 376 (Hero Image) |
1104 x 736 | 1104 x 736 | |
Youtube | 800 x 800 | 2560 x 1440 บน PC 1546 x 423 บน PC และ Mobile ที่จะไม่โดนตัด |
อัตราส่วนวีดีโอ 16:9 (สำหรับHD) 2840 x 2160 1280 x 720 (video thumbnail) |
|
Medium | 60 x 60 (รูปคนเขียน) 1000 x 50 (max.) (รูป Logo) |
1500 x 750 (background Image สำหรับ header ใหญ่) |
กว้าง 1400 (Full column-width) กว้าง 2040 (Out-set image) กว้าง 2500 (Screen-width) |
|
Tumblr | 128 x 128 | 3000 x 1055 | 500 x 750 | |
TikTok | 200 x 200 | 900 x 300 | อัตราส่วนวีดีโอ 1:1 หรือ 4:5 ขนาดรูป 1080 x 1920 |
*ทุกแพลตฟอร์มหน่วยเป็นพิกเซล (px)
รูปแต่ละรูปต่างกันตรงไหน
รูปโปรไฟล์ (Profile picture)
หน้าที่หลักของรูปโปรไฟล์คือการแสดงแบรนด์ซึ่งควรใช้รูปที่เหมือนกันในทุกแพลตฟอร์ม ถ้าเป็นบัญชีโซเชียลของแบรนด์ก็ควรเป็นภาพโลโก รูปโปรไฟล์ในเกือบทุกแพลตฟอร์มจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
แพลตฟอร์มที่รูปโปรไฟล์ไม่เหมือนที่อื่น
- Facebook จะแสดงภาพขนาดต่างกัน ถ้าเปิดบน PC จะมีขนาด 178 x 178 พิกเซล ถ้าเปิดบน mobile จะมีขนาด 128 x 128 พิกเซล
- LinkedIn มีรูปโปรไฟล์สามขนสด คือ รูปโปรไฟล์สำหรับบุคคล (Personal Profile Image) ขนาด 400 x 400 พิกเซล รูปโปรไฟล์สำหรับบริษัท (Company Logo Image) ขนาด 300 x 300 พิกเซล รูปโปรไฟล์เล็กสำหรับบริษัท (Company Logo Image) 300 x 300 พิกเซล
- Youtube เรียกว่ารูปโปรไฟล์ตัวเองว่า channel icon ได้
- Twitter Instagram LinkedIn จะแสดงโปรไฟล์เป็นวงกลม ส่วน YouTube สามารถเลือกได้ว่าจะเป็นวงกรอบหรือสี่เหลี่ยม
รูปโคฟเวอร์ (Cover photo / header image)
รูปโคฟเวอร์ หรือรูปจาหัวเป็นรูปที่ใหญ่กว่ารูปโปรไฟล์ที่มักจะวางอยู่ไกล้ๆกัน สิ่งที่สำคัญของรูปโคฟเวอร์ คือพื้นที่ของรูปบางส่วนจะถูกตัดออก และถูกบังโดยรูปโปรไฟล์หรือปุ่ม User Interface ของโซเชียลมีเดีย ทำให้การดีไซน์รูปโคฟเวอร์จำเป็นต้องวางสิ่งสำคัญไว้ตรงกลาง นามสกุลไฟล์รูปโคฟเวอร์นิยมใช้ .png แทนที่จะเป็น .jpg
แพลตฟอร์มที่รูปรูปโคฟเวอร์ ไม่เหมือนที่อื่น
- LinkedIn มีขนาดรูปโคฟเวอร์ถึง 4 ขนาด คือ รูปโคฟเวอร์ส่วนตัว (Personal Background Image) ขนาด 1584 x 396 พิกเซล รูปโคฟเวอร์ของบริษัท (Company Cover Image) ขนาด 1536 x 768 พิกเซล รูปแบนเนอร์บริษัท (Banner Image for Company Page) ขนาด 646 x 220 พิกเซล รูปฮีโร (Hero Image) ขนาด 1128 x 376 พิกเซล โดยที่รูปโคฟเวอร์ของบริษัทจะถูกบังเกือบทั้งหมด
- Youtube รูปโคฟเวอร์ขนาด 1546 x 423 จะไม่โดนตัดถ้าใช้บน PC และ Mobile
- Medium เรียกรูปโคฟเวอร์ว่า Background Imageและจะสามารถใช้ได้ถ้าเลือก Header เป็นขนาดใหญ่เท่านั้น
รูปคอนเทนต์
การทำคอนเทนต์แบบรูปจะได้ยอดแชร์มากกว่าการใส่ตัวอักษรอย่างเดียว ทำให้การทำคอนเทนต์แบบรูปแบบรูปเป็นที่นิยมในทุกแพลตฟอร์ม การใส่รูปขนาดที่ถูกต้องในแต่ละแพลตฟอร์มจะทำให้รูปที่เราทำออกมาไม่ถูกเอาไปให้รูปเพี่ยนด้วยการยืดหรือครอป
แพลตฟอร์มที่รูปคอนเทนต์ไม่เหมือนที่อื่น
- Pinterest ไม่จำกัดความยาวของรูปแต่ความกว้างของรูปคือ 236 พิกเซล
- Medium มีคำขนาดรูปแนะนำสามขนาด คือ Full column-width images กว้าง 1400 พิกเซล, Out-set images กว้าง 2040 พิกเซล และ Screen-width images กว้าง 2500 พิกเซล
- Youtube จะขึ้นภาพนิ่งที่ feed ถ้าเรายังไม่เลื่อนผ่านใน mobile เราสามารถทำภาพนิ่งเองได้โดยที่ภาพนิ่งนั้นมีขนาด 1280 x 720 พิกเซล ถ้าเป็นภาพเคลื่อนไหวแบบ HD จะต้องมีขนาด 3840 x 2160 พิกเซล
- TikTok นิยมโพสทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง อัตราส่วนภาพเคลื่อนไหวคือ 1:1 และ 4:5 ขนาดภาพนิ่งที่แนะนำคือ 1080 x 1920 พิกเซล
รูปลิงค์ที่แชร์
รูปลิงค์ที่แชร์คือรูปที่คลิกเข้าไปที่หน้าเว็ปอื่น ซึ่งหน้าเว็ปอื่นจะอยู่ในเว็ปโซเชียลเดิมหรือไปหน้าเว็ปไซต์ใหม่ก็ได้
แพลตฟอร์มที่รูปลิงค์ที่แชร์ไม่เหมือนที่อื่น
- Facebook จะเลือกรูปลิงค์โดยอัตโนมัติด้วยแท็ก Open Graph (og:image) ถ้ารูปลิงค์ที่เราแชร์ไม่ได้ขนาด 1200 x 630 พิกเซล รูปอาจโดนครอปออก
- Medium สามารถปรับรูปให้เป็นลิงค์ได้ ให้กดไปที่รูปแล้วกด Ctrl + K สำหรับระบบปฏิบัติการ Window และ Cmd + K สำหรับระบบปฏิบัติการ Mac Os